ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฟื้นฟูเครื่องกลึง

 

                                                                          เครื่องกลึง

เครื่องกลึง เป็นเครื่องจักรกลที่มีความสาคัญมากในงานช่างกลโรงงาน มีใช้กันตั้งแต่ยุคต้นๆ เป็นเครื่องมือกลประเภทแปรรูปโลหะทรงกระบอกเป็นหลัก สาหรับกลึง เจาะ คว้านรูได้มากมาย เพื่อ ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลไกต่างๆ สาหรับงานผลิต และงานซ่อมงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต้องมี เครื่องกลึงเป็นหลัก

1.ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์ เครื่องกลึงยันศูนย์มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ อยู่หลายชิ้น

สามารถแยกเป็นส่วนประกอบใหญ่ๆ ได้เป็น 6 ส่วนสำคัญคือ

1.1. หัวเครื่องกลึง

1.2. แท่มเลื่อน

1.3. ยันศูนย์ท้าย

1.4. ฐานเครื่องกลึง

1.5. ระบบป้อน

1.6. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกลึง              



                                                  ภาพที่ 1.1 ส่วนประกอบของเครื่องกลึงศูนย์
1.1.1 หัวเครื่องกลึง (Head Stock)
หัวเครื่องกลึง เป็นส่วนประกอบที่อยู่บนฐานเครื่องทางด้านซ้าย ภายในหัวเครื่องมีชุดเฟืองทดส่งกำลังสำหรับบังคับหัวจับที่จับชิ้นงานให้หมุน ชุดเฟืองทดสำหรับเปลี่ยนความเร็วรอบสามารถปรับความเร็วรอบระดับต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท


                                                ภาพที่ 1.2 ส่วนประกอบของแท่นเลื่อน
1.2.1  แท่นเลื่อน (Carriage)
แท่นเลื่อน เป็นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ไป-มา ตามความยาวรางเลื่อน สามารถเคลื่อนที่ด้วยมือและอัตโนมัติโดยมีชุดเฟืองทดและคันบังคับ ทำให้แท่นเลื่อนทำงานในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ

แท่นเลื่อนมีส่วนประกอบหลัก คือ
- แท่นเลื่อนขวาง (Cross Slide) อยู่บนแท่นเลื่อน เคลื่อนตัวไปมาในแนวตั้งฉากกับรางเลื่อน ทำหน้าที่ปรับป้อนมีดกลึงให้เคลื่อนตัวเข้าออก เพื่อตัดเฉือนวัสดุงานและกลึงปาดหน้าชิ้นงาน
 - แท่นป้อมมีด (Compound Rest) อยู่บนแท่นเลื่อนขวาง โดยมีป้อมมีด   (Tool Post)   สำหรับจัดยึดมีดกลึง สามารถปรับตั้งมุมให้เอียงสำหรับทำการกลึงเรียวได้ด้วย
- แท่นเลื่อนบน (Top Slide) เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างแท่นเลื่อนขวางและป้อมมีด   สามารถเลื่อนให้เคลื่อนที่เข้าตัดเฉือน และสามารถใช้ในการกลึงเรียวได้
- ป้อมมีด (Tool Post) ใช้ในการจับมีดกลึงในการตัดเฉือนชิ้นงาน

ภาพที่ 1. 3 ชุดยันศูนย์ท้ายแท่น

1.3.1 ชุดยันศูนย์ท้าย (Tail Stock)
ชุดยันศูนย์ท้ายแท่น ทำหน้าที่ประคองชิ้นงานโดยการใช้ยันศูนย์หรือเจาะชิ้นงานโดยใช้อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น หัวจับดอกสว่าน ชุดยันศูนย์ท้าย สามารถเลื่อนไป- มาได้บนรางเลื่อนแท่นเครื่องกลึง


ภาพที่ 1.4 ส่วนประกอบของชุดระบบป้อน

1.4.1 ฐานเครื่องกลึง (Bed)
ฐานเครื่อง ผลิตขึ้นจากเหล็กหล่อสีเทา (Gray Cost Iron) เพราะมีคุณสมบัติรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี ทำหน้าที่รองรับส่วนประกอบทั้งหมดของตัวเครื่องกลึง ได้แก่หัวเครื่อง ชุดแท่นเลื่อน และชุดยันศูนย์ท้าย


ภาพที่ 1.5 แขนโยกชุดเฟืองป้อน

 1.5.1 ระบบป้อน (Feed Mechanism)
ชุดระบบป้อนเป็นชุดที่มีความสัมพันธ์กับระบบส่งกำลัง ใช้กลึงอัตโนมัติซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ชุดเฟืองป้อน เพลานำ และเพลาป้อน แต่ละส่วนจะทำงานสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกัน ดังรูปที่ 1.4 และ 1.5




ภาพที่ 1.6 ชุดเฟืองแบบเปิด
1.6.1แบบเปิด (Open Type) เป็นชุดเฟืองที่อยู่ภายนอก เป็นเฟืองแบบเก่าใช้มานานแล้ว (ดังรูปที่ 1.6)
 ภาพที่ 1.7 ชุดเฟืองแบบปิด

1.7.1 แบบปิด (Close Type) เป็นชุดเฟืองที่ทำงานเช่นเดียวกับระบบเปิด ซึ่งได้มีการพัฒนาทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น ชุดเฟืองป้อนแบบเปิดและแบบปิดมีข้อแตกต่างกันตรงที่การมองเห็นเฟือง


ภาพที่ 1.8   ตำแหน่งเพลานำและเพลาป้อน

1.8.1 เพลานำ (LEADSCREW)  ใช้สำหรับกลึงเกลียวตัวเพลานำเป็นเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู ดังรูปที่ 1.8 
1.8.2 เพลาป้อน (FEED SHAFT) ใช้สำหรับกลึงปอกผิวอัตโนมัติ ตัวเพลาเป็นเพลากลมมีร่องลิ่ม


เว็บไซต์อ้างอิง
https://sites.google.com/site/krrmwithikarphlitt/neuxha-sara/bth-thi-4-kheruxng-klung

ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คู่มือการใช้ tinkercad เบื้องต้น

คู่มือการใช้งานเบื้องต้น 1.tinkercad               t inkercad คือ  โปรแกรมออกแบบที่ทำงานบน Web Browser  ที่ช่วยในการออกแบบวงจรและยังสามารถจำลองการทำงานของวงจรได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยในการออกแบบงานจำพวก3dได้อีกด้วยทั้งนี้ทั้งนั้นเราของยกมาแค่การออกแบบวงจรก่อนนะครับ ขั้นตอนการใช้โปรแกรมเบื้องต้น 1.เปิดโปรแกรม หน้าตาโปรแกรมก็จะประมาณนี้คับ 2.เมื่อเปิดโปรแกรมเสร็จแล้วให้ไปที่ Circuits  > try Circuits 3.จากนี้เราก็สามารถเขียนวงจรได้แล้ว 4.ถ้าเราต้องการที่จะเปลี่ยนสีสายของสายที่ใช้ต่อหรือพวกledให้ทำการคลิกทีอุปการณ์และเลือกได้เลย วิธีการนี้ใช้ได้กับการเปลี่ยนค่าตัวต้านทานด้วยเช่นกัน   5.ถ้าเราต้องการที่จะจำลองการทำงานให้เราไปที่ code จากนั้นก็ทำการเขียนได้เลยแต่ในtinkercadมันสามารถเขียนcodeได้หลายแบบมีดังนี้    6.เรามาจำลองการทำงานดูกันเลยดีกว่า ให้เราไปเขียนcodeให้เสร็จก่อนจากนั้นให้ไปกดที่ start simulation จากนั้นมันก็จะทำงานตามที่เราเขียนcode ใว้   7.โปรแกรมมันจะทำการ save ให้เราเองครับผม ถ้าผิดพลาดตรงใหนช่วยชี้แนะหรือเพิ่มเ

servo motor vs stepping motor

SERVO MOTOR Servo Motor เป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมเครื่องจักรกล หรือระบบการทํางานนั้นๆ ให้เป็นไปตามความต้องการ เช่น ควบคุมความเร็ว (Speed) , ควบคุมแรงบิด (Torque) , ควบคุมแรงตําแหน่ง (Position) โดยให้ผลลัพธ์ตามความต้องการที่มีความแม่นยําสูง ประเภทของเซอร์โวมอเตอร์(Servo motor) โ ดยทั่วจะมีทั้งดีซีและเอซีเซอร์โว DC Servo Motor มีการใช้เครื่องจักรกลอุตสาหกรรมมากกว่า AC Servo Motor เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาการควบคุมกระแสกระแสสูงๆนั้นจะต้องใช้ SCRs  แต่ปัจจุบันทรานซิสเตอร์ได้พัฒนาขีดความสามารถให้ตัดต่อกระแสสูงและใช้งานที่ความถี่ได้สูงๆขึ้น จึงทำให้ระบบควบคุมทางเอซีและระบบเซอร์โวได้ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น ซึ่งสามารถแยกประเภทของเซอร์โวได้ดังนี้ 1. มอเตอร์ชนิดที่มีแปรงถ่าน เซอร์โวมอเตอร์ชนิดนี้ที่สเตเตอร์จะเป็นแม่เหล็กถาวร ส่วนโรเตอร์ยังใช้แปรงถ่านและคอมมิวเตอร์เรียงกระแสเข้าสู่ขดลวดอาร์เมเจอร์ เหมือนกับดีซีมอเตอร์ทั่วไป 2. เซอร์โวมอเตอร์ชนิดที่ไม่มีแปรงถ่าน           เซอร์โวมอเตอร์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยดีซีเซอร์โว (DC Brushless Servo ่โรเตอร์ทำด้วยแม่เหล็กถาวร) เอซีเซอร์โว (AC