ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำความรู้จัก ลอจิกเกต (LOGIC GATE)

ลอจิกเกต (LOGIC GATE)

ลอจิกเกต หรือ ประตูสัญญาณตรรกะ เป็นตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ซึ่งรับข้อมูลเข้าอย่างน้อยหนึ่งตัว มาคำนวณและส่งข้อมูลออกหนึ่งตัว การทำงานของเกตนิยมเขียนอยู่ในรูปพีชคณิตแบบบูล เมื่อนำเกตต่าง ๆ มาประกอบเป็นวงจรจะได้วงจรตรรกะ ซึ่งเป็นวงจรดิจิทัลประเภทหนึ่ง

เกตนิยมสร้างโดยใช้ไดโอดและทรานซิสเตอร์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็สามารถสร้างโดยใช้วงจรรีเลย์, แสง หรือกลไกอื่น ๆ ได้ด้วย

เกตพื้นฐาน

เกตพื้นฐานมีทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่ OR, AND, NOT, NOR, NAND, XOR และ XNOR เกตที่กล่าวมานี้ไม่ได้เป็นอิสระต่อกัน กล่าวคือเกตบางตัวสามารถสร้างโดยเกตตัวอื่น ๆ ได้ เช่น NOR สามารถสร้างจาก OR ตามด้วย NOT เป็นต้น ในจำนวนเกตพื้นฐานนี้ มีเพียง NAND หรือ NOR ตัวใดตัวหนึ่งก็สามารถสร้างเกตที่เหลือทั้ง 7 ตัวได้ ตัวดำเนินการที่ใส่ไว้เป็นตัวดำเนินการของพีชคณิตแบบบูล


OR gate

เกต OR คือเกตที่ให้สัญญาณขาออกเป็น 0 เมื่อสัญญาณขาเข้าทุกตัวเป็น 0 และจะให้สัญญาณขาออกเป็น 1 เมื่อสัญญาณขาเข้าตัวใดตัวหนึ่งเป็น 1 เป็นความหมายเดียวกับตรรกะ "หรือ" มีตัวดำเนินการคือ + ตารางค่าความจริงของเกต OR เป็นดังนี้




Not gate

Not gate คือเกตที่ให้สัญญาณขาออกเป็นส่วนเติมเต็มของสัญญาณขาเข้า หรือเป็นการสลับค่าของสัญญาณขาเข้า เป็นความหมายเดียวกับตรรกะ "นิเสธ" เกตนี้จะรับสัญญาณขาเข้าเพียงข้างเดียว มีตัวดำเนินการคือ A (อ่านว่า not A หรือ A bar) ตารางค่าความจริงของเกต NOT เป็นดังนี้



and gate

and gate คือเกตที่ให้สัญญาณขาออกเป็น 1 เมื่อสัญญาณขาเข้าทุกตัวเป็น 1 และจะให้สัญญาณขาออกเป็น 0 เมื่อสัญญาณขาเข้าตัวใดตัวหนึ่งเป็น 0 ตารางค่าความจริงของเกต NAND เป็นดังนี้



Nand gate

Nand gate คือเกตที่ให้สัญญาณขาออกเป็น 0 เมื่อสัญญาณขาเข้าทุกตัวเป็น 1 และจะให้สัญญาณขาออกเป็น 1 เมื่อสัญญาณขาเข้าตัวใดตัวหนึ่งเป็น 0 หรือเป็นส่วนเติมเต็มของเกต AND นั่นเอง ตารางค่าความจริงของเกต NAND เป็นดังนี้



NOR gate

NOR gate คือเกตที่ให้สัญญาณขาออกเป็น 1 เมื่อสัญญาณขาเข้าทุกตัวเป็น 0 และจะให้สัญญาณขาออกเป็น 0 เมื่อสัญญาณขาเข้าตัวใดตัวหนึ่งเป็น 1 หรือเป็นส่วนเติมเต็มของเกต OR นั่นเอง ตารางค่าความจริงของเกต NOR เป็นดังนี้




XNOR gate

XNOR gate คือเกตที่ให้สัญญาณขาออกเป็น 0 เมื่อสัญญาณขาเข้าต่างกัน และจะให้สัญญาณขาออกเป็น 1 เมื่อสัญญาณขาเข้าเหมือนกัน หรือเป็นส่วนเติมเต็มของเกต XOR นั่นเอง ซึ่ง 
A ⊕ B = (A + B) ·(A + B) = A · B + A · B ตารางค่าความจริงของเกต XNOR เป็นดังนี้



Buffer gate

Buffer gate สามารถนำไปเป็นตัวขับค่าระดับสัญญาณให้มีความแรงยิ่งข้ึน และสามารถนำไปช่วยแก้ปัญหา ที่เกิดจากการหน่วงสัญญาณ (Propagation Delay Time) ตารางค่าความจริงของเกต Buffer gate เป็นดังนี้




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คู่มือการใช้ tinkercad เบื้องต้น

คู่มือการใช้งานเบื้องต้น 1.tinkercad               t inkercad คือ  โปรแกรมออกแบบที่ทำงานบน Web Browser  ที่ช่วยในการออกแบบวงจรและยังสามารถจำลองการทำงานของวงจรได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยในการออกแบบงานจำพวก3dได้อีกด้วยทั้งนี้ทั้งนั้นเราของยกมาแค่การออกแบบวงจรก่อนนะครับ ขั้นตอนการใช้โปรแกรมเบื้องต้น 1.เปิดโปรแกรม หน้าตาโปรแกรมก็จะประมาณนี้คับ 2.เมื่อเปิดโปรแกรมเสร็จแล้วให้ไปที่ Circuits  > try Circuits 3.จากนี้เราก็สามารถเขียนวงจรได้แล้ว 4.ถ้าเราต้องการที่จะเปลี่ยนสีสายของสายที่ใช้ต่อหรือพวกledให้ทำการคลิกทีอุปการณ์และเลือกได้เลย วิธีการนี้ใช้ได้กับการเปลี่ยนค่าตัวต้านทานด้วยเช่นกัน   5.ถ้าเราต้องการที่จะจำลองการทำงานให้เราไปที่ code จากนั้นก็ทำการเขียนได้เลยแต่ในtinkercadมันสามารถเขียนcodeได้หลายแบบมีดังนี้    6.เรามาจำลองการทำงานดูกันเลยดีกว่า ให้เราไปเขียนcodeให้เสร็จก่อนจากนั้นให้ไปกดที่ start simulation จากนั้นมันก็จะทำงานตามที่เราเขียนcode ใว้   7.โปรแกรมมันจะทำการ save ให้เราเองครับผม ถ้าผิดพลาดตรงใหนช่วยชี้แนะหรือเพิ่มเ

ฟื้นฟูเครื่องกลึง

                                                                            เครื่องกลึง เครื่องกลึง  เป็นเครื่องจักรกลที่มีความสาคัญมากในงานช่างกลโรงงาน มีใช้กันตั้งแต่ยุคต้นๆ เป็นเครื่องมือกลประเภทแปรรูปโลหะทรงกระบอกเป็นหลัก สาหรับกลึง เจาะ คว้านรูได้มากมาย เพื่อ ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลไกต่างๆ สาหรับงานผลิต และงานซ่อมงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต้องมี เครื่องกลึงเป็นหลัก 1.ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์ เครื่องกลึงยันศูนย์มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ อยู่หลายชิ้น สามารถแยกเป็นส่วนประกอบใหญ่ๆ ได้เป็น 6 ส่วนสำคัญคือ 1.1. หัวเครื่องกลึง 1.2. แท่มเลื่อน 1.3. ยันศูนย์ท้าย 1.4. ฐานเครื่องกลึง 1.5. ระบบป้อน 1.6. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกลึง                                                                  ภาพที่ 1.1 ส่วนประกอบของเครื่องกลึงศูนย์ 1.1.1 หัวเครื่องกลึง (Head Stock) หัวเครื่องกลึง เป็นส่วนประกอบที่อยู่บนฐานเครื่องทางด้านซ้าย ภายในหัวเครื่องมีชุดเฟืองทดส่งกำลังสำหรับบังคับหัวจับที่จับชิ้นงานให้หมุน ชุดเฟืองทดสำหรับเปลี่ยนความเร็วรอบสามารถปรับความเร็วรอบระดับต่างๆ ให้เหมาะสมก

servo motor vs stepping motor

SERVO MOTOR Servo Motor เป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมเครื่องจักรกล หรือระบบการทํางานนั้นๆ ให้เป็นไปตามความต้องการ เช่น ควบคุมความเร็ว (Speed) , ควบคุมแรงบิด (Torque) , ควบคุมแรงตําแหน่ง (Position) โดยให้ผลลัพธ์ตามความต้องการที่มีความแม่นยําสูง ประเภทของเซอร์โวมอเตอร์(Servo motor) โ ดยทั่วจะมีทั้งดีซีและเอซีเซอร์โว DC Servo Motor มีการใช้เครื่องจักรกลอุตสาหกรรมมากกว่า AC Servo Motor เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาการควบคุมกระแสกระแสสูงๆนั้นจะต้องใช้ SCRs  แต่ปัจจุบันทรานซิสเตอร์ได้พัฒนาขีดความสามารถให้ตัดต่อกระแสสูงและใช้งานที่ความถี่ได้สูงๆขึ้น จึงทำให้ระบบควบคุมทางเอซีและระบบเซอร์โวได้ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น ซึ่งสามารถแยกประเภทของเซอร์โวได้ดังนี้ 1. มอเตอร์ชนิดที่มีแปรงถ่าน เซอร์โวมอเตอร์ชนิดนี้ที่สเตเตอร์จะเป็นแม่เหล็กถาวร ส่วนโรเตอร์ยังใช้แปรงถ่านและคอมมิวเตอร์เรียงกระแสเข้าสู่ขดลวดอาร์เมเจอร์ เหมือนกับดีซีมอเตอร์ทั่วไป 2. เซอร์โวมอเตอร์ชนิดที่ไม่มีแปรงถ่าน           เซอร์โวมอเตอร์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยดีซีเซอร์โว (DC Brushless Servo ่โรเตอร์ทำด้วยแม่เหล็กถาวร) เอซีเซอร์โว (AC